วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การออกแบบโลโก้ของ


การออกแบบโลโก้ก่อนไปทำโปรแกรม Ai







Logo ที่ได้

ส.3 สรุปผลงาน

แบบสรุปผลงาน





ฉลากสติ๊กเกอร์กับที่ห้อยคอขวด


สรุปแบบและนำปริ๊นสี






ข้อมูล ส.3










ส.2 (การสร้างสมมุติฐาน)

การสร้างสมมุติฐาน




SWOT




การปรับเปลี่ยนสีสติ๊กเกอร์จากเดิม

เจ้าของสินค้าให้ยึดโลโก้รูปแบบเดิมไว้


รูปแบบฉลากสติ๊กเกอร์


ฉลากสินค้า


วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

งานโลชั่นกันยุงตะไคร้หอม "ภูมิเลิศ" ส.1

การออกแบบกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ กลุ่ม201
โครงการออกแบบกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์โลชั่นกันยุงตะไคร้หอม "ภูมิเลิศ"


กรอบแนวความคิดในการดำเนินงานการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์



ส.1.jpg

ประวัติความเป็นมา

นายพงษ์ศักดิ์ อาภาสกุล อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนเลิศพินิจพิทยาคม สังกัดสำนักงานการศึกษาปทุมธานี เขต 2 ตั้งอยู่ที่ หมู่ 15 ต.บึงคำพร้อย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี มีความสนใจและความรักในอาชีพการเกษตรตั้งแต่เยาว์วัย ได้พยายามเรียนรู้และปฏิบัติการเกษตรเกือบทุกสาขา เช่น การปลูกผักสวนครัว การทำไร่ ทำสวน การเลี้ยงสัตว์ เช่น เป็ด ไก่ การเลี้ยงปลา การปลูกผักลอยน้ำ ตลอดทั้งการขยายพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ การเพาะและขยายพันธุ์เห็ดเกือบทุกชนิด เป็นต้น แต่เนื่องจากในเบื้องต้นได้รับการปลูกฝังการเกษตรเชิงการเกษตรเคมีนิยมมาก่อน ต่อมาพบว่าการเกษตรเคมีเป็นวิถีที่ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ และส่งผลให้เกิดผลเสียแก่สุขภาพร่างกายของผู้ผลิตและผู้บริโภค จึงได้มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ปัจจัยการผลิตเพื่อนำสู่การทำเกษตรธรรมชาติที่มีคุณภาพและประหยัด
พ.ศ.2538 เป็นต้นมา ได้ดำเนินการเกษตรเชิงธรรมชาติสู่การปฏิบัติและอบรมปลูกฝังนักเรียนทั้งถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวสู่ชุมชน
พ.ศ.2550 จึงจนได้ทั่งได้เกษียณตั้งกลุ่มภูมิเลิศแหล่งเรียนรู้เกษตรธรรมชาติ ณ บ้านเลขที่ 61/4 บ้านทวีทรัพย์ หมู่ 9 ต.บึงชำอ้อ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี จนตราบเท่าทุกวันนี้
พ.ศ. 2538 – 2550 นายพงษ์ศักดิ์ อาภาสกุล พร้อมคณะครูและนักเรียน และระหว่าง พ.ศ.2550-ปัจจุบัน นายพงษ์ศักดิ์ อาภาสกุล และสมาชิกของกลุ่มภูมิเลิศฯ ได้ช่วยกันติดค้นนวัตกรรมปัจจัยการผลิตเชิงการเกษตรธรรมหลายๆ ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทล้วนมีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน และตั้งแต่
พ.ศ.2550-ปัจจุบัน การพัฒนาดังกล่าวก็ได้มีพัฒนาและค้นพบนวตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียด

สำหรับวัตถุประสงค์ของกลุ่มภูมิเลิศแหล่งเรียนรู้เกษตรธรรมชาติมีดังนี้
1. พัฒนาปัจจัยการผลิตการเกษตรเชิงธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง
2. สร้างงาน/สร้างรายได้ให้แก่สมาชิกและชุมชน
3. เผยแพร่ความรู้เชิงการเกษตรธรรมชาติบุคคลที่สนใจ นักเรียน/นักศึกษา/เกษตรกรและชุมชน


อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
1. เป็นหนึ่งในวิถีของการทำเกษตรธรรมชาติ ผู้ผลิตคือ เกษตรกรผู้นำสู่การปฏิบัติ (ใช้) ตลอดทั้งผู้บริโภคผลิภัณฑ์พืชผลการเกษตรมีความปลอดภัย เพราะปราศจากสารเคมีสังเคราะห์ที่บั่นทอนสุขภาพของมนุษย์

2. นอกจากใช้ในการฉีดพ่นพืชผักแล้ว ในทางอ้อมเกษตรกรสามารถนำไปผสมในก้อนเชื้อเห็ดและฉีดพ่นโรงเพาะเห็ด เพื่อขจัด ตัวไร แมลงหวี่ ตลอดทั้งป้องกันเชื้อราที่เป็นพิษต่อเห็ดได้ อีกด้วย

3. คุณสมบัติของสารกำจัดแมลงและเชื้อราดังกล่าวยังสามารถนำไปผสมกับแชมพูหรือ สบู่เหลว เพื่อผลิตเป็นแชมพูหรือสบู่เหลวที่สามารถขจัดเหาบนศีรษะของคน และจัดเห็บ หมัด ที่เกาะอยู่ตามผิวหนังของสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว วัว เป็นต้น เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำลายสุขภาพของคนและสัตว์เลี้ยง


มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ


-ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

-ได้รับเครื่องหมาย อย.

-ได้รับการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน

-ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

-ได้รับการคัดสรรเป็นสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาว ในปี พ.ศ.2547

Otop5_20051117115440.0.jpg
ตัวบรรจุภัณฑ์ดั้งเดิมและโลโก้
 ตอนที่ อ.พงษศักษ์ ยังมีชีวิต

ชมรมเกษตรธรรมชาติโรงเรียนชุมชนเลิศพินิจพิทยาคม ได้นำต้นตะไคร้หอมมาหมักทำน้ำสกัดชีวภาพ  โดยการกลั่นจึงจะได้นำมันหอมระเหยจากนั้นจึงกลั่นนำมันหอมระเหยไปผสมกับแอททิแอลกอฮอล์และให้นักเรียนช่วยกันผลิตเพื่อสร้างรายได้ระหว่างเรียน จนเกษียนอายุราชการครู แต่ปัจจุบัน อ.พงษศักษ์ อาภาสกุล ได้เสียชีวิตไปแล้ว จึงมอบตรงนี้ให้ภรรยา คือ อ.สมทรง อาภาสกุล หรือแม่แจ๋ว ให้เป็นผู้ดูแลสืบทอดต่อไป และได้เปลี่ยนชื่อจากเดิม "เลิศพินิจ" เป็น "ภูมิเลิศ" จนถึงปัจจุบัน

ความสัมพันธ์กับชุมชน



-ได้มีการสร้างงานให้แก่สมาชิกและชุมชน ส่งผลให้บุคคลดังกล่าวมีรายได้อย่างพอเพียง
-ได้มีบุคคลทั่วไป/ชุมชน/นักศึกษา/นักเรียนและผู้สนใจได้เข้ามาศึกษา ดูงาน จำนวนมากพอสมควร

  




การเข้าพบผู้ประกอบการเพื่อสัมภาษณ์ถึงปัญหาของแบรนด์และผลิตภัณฑ์









บรรจุภัณฑ์ใหม่และโลโก้ที่เปลี่ยนชื่อใหม่หลังจาก 
อ.พงษ์ศักดิ์ อาภาสกุล เสียชีวิตและภรรยาเป็นผู้ดูแลแทน

กระบวนการขั้นตอนการผลิต
1.นำต้นตะไคร้หอมมากลั่นด้วยระบบไอน้ำ จะได้น้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอม
2.นำน้ำมันตะไคร้หอมผสมกับแอททิลแอลกอฮอล์ และอื่นๆ
3. บรรจุเป็นผลิตภัณฑ์

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
- เป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดสารเคมี
ปริมาณการผลิต- เฉลี่ยเดือนละ 400 ขวด


ราคา

บรรจุ 60 ซีซี ขายปลีกขวดละ 60 บาท /ขายส่งโหลละ 720 บาท (ลด 20%)
บรรจุ 100 ซีซี ขายปลีกขวดละ 100 บาท /ขายส่งโหลละ1200 บาท (ลด 20%)
สถานที่จำหน่าย
- ส่งร้านสมุนไพรไทย ปั๊มบางจาก คลอง7 จ.ปทุมธานี
- ส่งสนามกลอฟในจังหวัดปทุมธานี
- ส่งโรงแรมที่เกาะสมุย จ.สุราชธานี



สนใจสั่งซื้อ ขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่       นางสมทรง อาภาสกุล (แม่แจ๋ว)โทร.081-307 6939,087- 975 7995

ปัจจุบันได้ย้ายสถานนี้การผลิตและเปลี่ยนชื่อจากเดิม      ภูมิเลิศแหล่งเรียนรู้เเกษตรธรรมชาติ
      61/4 ม.9 คลอง7 ต.บึงชำอ้อ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี 12170







                                                             แผนที่ตั้งทาง Google Map                                                                                            

อธิบายบอกเพิ่มเติม
         ต้องการให้ออกแบบกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ให้มีความโดดเด่นดึงดูใจมีสีสันที่เป็นธรรมชาติและยึดแบบโลโก้เดิมไว้สามารถป้องกันน้ำได้
        ชื่อผู้บันทึก   นางสาวชิดชนก สุภาพ
        ลงชื่อ            ชิดชนก สุภาพ (ทีมที่ปรึกษาด้านออกแบบพัฒนา)
        ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์/ผู้ประกอบการ   นางสมทรง อาภาสกุล (แม่แจ๋ว)
                                                                  โทร.081-307 6939,087- 975 7995







วิเคราะห์โครงสร้าง
1. บรรจุภัณฑ์ที่เป็นขวดพัสติก
2. โลชั่นกันยุงตระไคร้หอมเป็นนำ้ใสๆบรรจุภายในขวด
3. มีฝาหมุนปิดขวดบรรจุไม่ให้โลชั่นกันยุงไหลออกนอกขวด
4. หัวฉีดแบบสเปรย์
5. ผ่าฉีดหัวปิดแบบใส
ุุ6. แผ่นสติ๊กเกอร์สลากปิดบนตัวบรรจุภัณฑ์ บอกยี่ห้อสินค้า
7. ข้อความบอกถึงชนิด/ประเภทสินค้า
8. ได้รางวัล OTOP 5ดาว ปี2547
9. ข้อความบอกปริมาณสินค้าที่บรรจุ



10. ผ่านการรับรองจาก อย.
11. แจ้ง ว./ด./ป. ที่ผลิต
12. มีข้อบ่งใช่ และข้อควรระวังบอก
13. บอกวันหมดอายุ
14. บอกสถานที่ผลิต
15. มีบาโค้ดสินค้า/และราคา


ISSUU ส.1



โลชั่นกันยุงตะไคร้หอม "ภูมิเลิศ" OTOP 5 ☆☆☆☆☆

ภูมิเลิศ แหล่งการเรียนรู้เกษตรธรรมชาติ 

61/4   บ้านทวีทรัพย์ หมู่ 9 ถ.คลอง7 (ฝั่งตะวันออก)
ต.บึงชำอ้อ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี
แผนที่กูเกิล Map




ระหว่างการเดินทางจากแยกลำลูกกา 
ไปวัดประชุมราชษฎ  คลอง6  จ.ปทุมธานี
ค่ารถเมร์คนละ 10 บาท